ต้นหอม

ต้นหอม เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวบ้างก็ปนสีม่วงอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่น ๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่าง ๆ หรือนำไปดอง และยังช่วยในเรื่อง พลังงาน ต้นหอมสด100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิฌลแคลอรี ประดอบด้วย โซเดียม 16 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม น้ำตาล 2.3 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม

ต้นหอม

ประโยชน์ที่ได้จากต้นหอม

มีน้ำมันหอมระเหย  บรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด และช่วยต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดความเสี่ยงจากอาการโรคกระดูกพรุน เพราะมี แคลเซียมและฟอสฟอรัส ป้องกันภาวะโลหิตจาง ขับเหงื่อ แก้อักเสบบวมแดง ป้องกันโรคหวัดเย็น แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ขับพยาธิ มีสารเคอร์ซิติน ให้ฤทธิ์ในการป้องกันการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันมะเร็ง ชะลอความชรา ซึ่งสามารถป้องกันอาการภูมิแพ้ได้ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล  ลดไข้ ใช้ตำพอกผิวหนังแก้แมลงสัตว์กัดต่อย ระตุ้นให้หลั่งน้ำนม เพิ่มน้ำนม สามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้

ต้นหอม

ลักษณะของต้นหอม

ต้นหอม
  • ลำต้น  มีลักษณะกลมๆ จะถูกห่อหุ้ม ไปด้วยกาบใบโดยรอบมีสีเขียว
  • ใบ  มีลักษณะเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ใบของต้นหอม มีสีเขียว มีกลิ่นฉุนแรง รสชาติเผ็ดร้อน
  • ดอก  ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยๆ เป็นจำนวนมาก มีดอกสีขาว ก้านช่อดอกยาวกลมข้างในกลวง รองรับช่อดอกไว้
  • หัว  มีหัวใต้ดิน หัวมีลักษณะทรงกลม หรือทรงกลมรี มีสีขาวหรือสีม่วง ตามสายพันธุ์ มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง ใช้ประกอบปรุงอาหารต่างๆ
  • ราก  ระบบรากฝอยเล็กๆ สีน้ำตาล ออกด้านล่างของหัว หัวมีลักษณะทรงกลม หรือทรงกลมรี หัวอ่อนมีสีขาวหรือสีม่วง ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นฉุนแรง รสชาติเผ็ดร้อน

การเพราะปลูกต้นหอม

มีวิธีง่ายๆ ในการปลูกต้นหอมแบ่ง ถ้าหากหาหัวแก่ของหอมแบ่งได้ ซึ่งหัวแก่จะโตเป็นตุ้มกลมๆ เล็ก รูปทรงรียาว คล้ายหยดน้ำ ดูคล้ายกับหัวหอมแดงลีบ หรือคล้ายกระเทียมหัวลีบ นำมาปลูกในแปลงผัก กลางแจ้ง เมื่อเตรียมดินปลูกให้ร่วนซุย ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก มากพอสมควร หยอดหรือปักหัวหอมที่ตัดปลายหัวเดิมทิ้งบางส่วน ปลูกลงดินแล้วควรคลุมด้วยฟางแห้ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในแปลงและช่วยพยุงให้ยอดต้นหอมแบ่งตั้งตัวได้เร็ว ช่วยคลุมไม่ให้หญ้าขึ้นแข่ง หมั่นรดน้ำเช้าเย็น ถ้าสภาพอากาศมีความแห้งแล้ง การให้น้ำควรมองถึงความชื้นของสภาพแปลงด้วย ถ้าชื้นแฉะมากเกินไปจะเกิดโรคเน่า และพึงระวังอย่าให้น้ำตอนแดดร้อนจ้ามาก ถ้าให้น้ำ เม็ดน้ำจะทำให้ต้นหอมแบ่ง เกิดบาดแผล หัก ช้ำ เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่ายการปลูกหอมแบ่ง นอกจากจะปลูกลงแปลงแล้ว ที่นิยมอีกแบบคือ ปลูกลงกระถาง กะละมังก้นรั่ว กล่องลังเก่า รางไม้ไผ่ เรือเก่า นอกจากจะปลูกเพื่อแบ่งกินต้นแล้ว ยังประสงค์ที่จะใช้ประดับบ้าน แต่งกระท่อม จัดสวนหย่อม และอีกหลายประการ บริเวณลานที่จัดกินอาหาร มีกระถางต้นหอมแบ่ง แขวนหรือตั้งไว้ให้เด็ดกินกับแกล้ม เด็ดครั้งละต้นครั้งละใบ อาหารมื้อนั้นละมุนละไม เกินกว่าจะหาใดเทียมเทียบ อาจจะมีกระถางต้นพริกขี้หนูสวน กระถางต้นมะเขือเปราะ กระถางผักชีใบยาว เพิ่มสีสันบรรยากาศรสชาติอาหารได้มากมาย ต้นหอมแบ่งเมื่อปลูกแล้ว มีวิธีการเก็บเกี่ยว 2 ประการ คือถ้าเป็นการปลูกเพื่อการค้า จะใช้วิธีขุดถอนทั้งแปลง มัดรวมกัน ชั่งน้ำหนัก พ่อค้ารับซื้อบรรทุกรถไปส่งแผนกรับจ้างแต่งล้าง จะมีการแต่งตัดราก และลอกใบที่แก่ มีตำหนิออกทิ้งด้วยน้ำไหล

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม veggiesgreen.com

โพสที่เกี่ยวข้อง