คะน้าและสรรพคุณประโยชน์ของคะน้า

คะน้า

คะน้า และชื่อสามัญKai-Lan (Gai-Lan) และชื่อที่ชาวจีนเรียกว่า (ไก่หลันไช่)  คะน้าเป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย คะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น  คะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะใช้สารละลายอื่น ๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้านั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด) ผักคะน้ามีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดซ้ำ ๆ เดิม ๆ และควรเลือกรับประทานผักให้หลากหลาย ร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด

สายพันธุ์ของคะน้าที่นิยมปลูกมี3 สายพันธ์ุ

คะน้าที่นิยมปลูกในเมืองไทยมีอยู่3 สายพันธ์ุด้วยกัน

1.คะน้าพันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1

2.คะน้าพันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.20

3.คะน้าพันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้2

veggiesgreen.com

ประโยชน์ที่ได้รับจากคะน้าและนำมาทำอาหาร

คะน้าสามารถนำมาทำ เป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น

veggiesgreen.com
ข้อครวระหวังการบริโภคคะน้า

การรับประทานคะน้าอาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมาก แต่อาจมีข้อควรระวังสำหรับผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน เนื่องจากผักคะน้ามีวิตามินเคที่อาจลดประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้ลง ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนบริโภค นอกจากนี้ คะน้ายังเป็นแหล่งของไฟเบอร์ ที่ร่างกายอาจต้องใช้เวลานานในการย่อย หากรับประทานคะน้ามากเกินไปและรับประทานรวดเร็วเกินไปก็อาจส่งผลให้มีก๊าซในลำไส้และท้องอืดได้

สรรพคุณของคะน้า
  • คะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  • คะน้า ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  • คะน้าช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  • คะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี) 
  • คะน้าช่วยในเรื่องบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ) คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  • คะน้าจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย คะน้าบำรุงโลหิต ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  • คะน้าจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  • คะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)

ลักษณะของคะน้า

veggiesgreen.com

ลำต้นคะน้า มีลักษณะตั้งตรงสูงประมาน 20-30 ซม.และมีลักษณะแข็งแรงอวบใหญ่ มีสีเขียวนวน นิยมนำมาบริโภคมากก็รองลงมาจากยอดอ่อน
ใบคะน้า ลักษณะใบคะน้ามีหลายลักษณะตามสายพันธุ์ออกไป เช่น คะน้าใบกลม คะน้าใบแหลม บางพันธุ์มีลักษณะ ก้านใบยาว หรือสั้นการแตกของใบจะแตกออกจากลำต้นเรียงสลับกัน 4-6 ใบ 
ผิวของใบคะน้า มีลักษณะเป็นคลืนผิวเป็นมันสีเขียวอ่อน
ยอดและดอกคะน้า บริเวณที่ถัดจากใบสุดท้ายที่เติบโตแยกออกมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเป็นส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีลักษณะคล้ายบัวตุม ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน รอที่จะเติบโตเป็นใบแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนำมาบริโภคมากที่สุด
รากของคะน้า รากของคะน้า ประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ต่อจากลำต้น มีสีขาวออกน้ำตาลเล็กน้อย ยั่งลึกประมาณ 10-30 ซม. ตามสภาพลักษณะหน้าดิน และรากฝอยสีน้ำตาลอ่อนซึ่งพบไม่มาก

วิธีปลูกคะน้า และการเพาะเมล็ด

วิธีปลูกคะน้า

  • ใช้ตะกร้ามีรู หรือ ตะแกรง ร่อนดินปลูกต้นไม้ ให้ได้แต่ดินเม็ดละเอียดออกมา
  • นำปุ๋ยคอกผสมกับดินเม็ดละเอียด คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  • เตรียมถาดเพาะเมล็ด นำกาบมะพร้าวสับมารองก้นถาดหลุมไว้ เพื่อให้ระบายน้ำและอากาศได้ดี จากนั้น เทดินที่ผสมไว้ลงไปในถาด ให้เต็มทุกหลุม
  • ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะนำร่องดิน ในแต่ละหลุม เสร็จแล้ว หยอดเมล็ดพันธุ์คะน้าลงไป 1 – 3 เมล็ด/หลุม แล้วกลบดินให้มิด
  • วางถาดเพาะเมล็ดในที่ร่ม ใช้ขวดฟ็อกกี้ ฉีดพรมดินให้ชุ่ม เช้า – เย็น เป็นเวลา 3 – 4 วัน เมล็ดก็เริ่มงอกออกมาแล้ว
  • พออายุได้ 7 – 10 วัน ให้ตัดเอา ต้นกล้า ที่มีลักษณะแคะแกรน ไม่สมบูรณ์ออก เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งอาหาร และ ขึ้นเบียดเสียดกัน
  • เมื่อ คะน้า อายุได้ 20 – 30 วัน และ มีใบแท้ขึ้นมา 1 ใบ ให้เตรียมย้ายสำหรับลงปลูก

อุปกรณ์และวัตถุดิบในการปลูกคะน้า

  • เมล็ดพันธุ์คะน้า
  • ดินปลูกต้นไม้1 ถัง
  • ปุ๋ยคอก1 ถัง
  • กาบมะพร้าว
  • ถาดเมล็ด
  • ตะกร้ามีรู และ ตะแกรง สำหรับร่อนดิน
  • ไม้ปลายแหลม
  • ขวดฟ็อกกี้

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  : veggiesgreen.com

โพสที่เกี่ยวข้อง